วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปลาคร์าฟ ญี่ปุ่น

ปลาคาร์ฟ


เมื่อพูดถึงปลาโค่ย หรือที่ภาษาไทยเราเรียกกันว่าปลาคาร์ฟนั้นคงจะนึกถึงเจ้าปลาสีขาว แต้มแดง แต่แท้จริงแล้วเจ้าปลาคาร์ฟนี้เป็นปลาสวยงาม มีหลากหลายสีสัน และรูปแบบ โดยในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้น เจ้าปลาชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย อายุยืนยาว โชคดี ความกล้า ความสำเร็จ และแรงบันดาลใจ 
อย่างในตำนานจีนนั้น ปลาคาร์ฟเป็นแหล่งพลังชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่ว่ายเหนือกระแสธาราเพื่อขึ้นไปสู่ยอดเขา และกลายเป็นมังกรในที่สุด ถ้าว่ากันตามตรงปลาคาร์ฟมีรูปแบบที่แตกต่างกันถึงกว่า 100 รูปแบบด้วยกัน ทำให้ยากที่จะอธิบายถึงความแตกต่างทั้งหมดครับ ดังนั้นเราจะพูดถึงเฉพาะตัวที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำได้ง่าย

Kohaku




Kohaku ถือเป็นปลาคาร์ฟรูปแบบที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เนื่องจากความนิยมนั่นเองครับ อย่างน้อยแม้ว่าใครก็ตามจะไม่เคยเห็นตัวจริง ในการ์ตูนเล่มหรืออนิเมเองก็ชอบนำสายพันธ์นี้ไปวาด เนื่องจากแสดงถึงเจ้าปลาคาร์ฟสีแดง ขาว นี้ได้เด่นชัดดี คำว่า Kohaku แปลว่า แดงและขาว ตามหน้าตาของมันนั่นเอง มีคำกล่าวในกลุ่มนักเพาะเลี้ยงปลาคาร์ฟว่า “งานอดิเรกอย่างการเลี้ยงปลาคาร์ฟนั้นเริ่มต้นจาก Kohaku และจบลงด้วย Kohaku” เรียกได้ว่าเป็นปลาสำหรับจุดเริ่มต้น และจุดสูงสุดเลยนั่นเอง

Bekko



Bekko เป็นปลาคาร์ฟที่มีจุดแต้มดำขึ้นบนตัว ส่วนอื่นอาจจจะเป็นได้ทั้งสีขาว (เรียกว่า Shiro Bekko) สีแดง (Aka Bekko) หรือเหลือง (Ki Bekko) โดยลวดลายของ Shiro Bekko จะเป็นเหมือนกับลายวัวตัวผู้เลยล่ะค่ะ



Tancho




Tancho เป็นอีกหนึ่งลวดลายที่แยกออกง่ายกว่าสายอื่นๆ ครับ โดยมันจะมีลายกลมๆ สีแดงอยู่บนหัว 
ยิ่งกลมดิ๊กแค่ไหนก็ยิ่งเป็นที่ต้องการตัวมากเท่านั้น


Hirenaga Koi (ปลาคาร์ฟผีเสื้อ)




นอกจากเรียกว่าปลาคาร์ฟผีเสื้อแล้ว บางครั้งยังถูกเรียกว่าปลาคาร์ฟมังกรอีกด้วย โดยลวดลายมีความสวยงาม ครีบที่อ่อนชดช้อยลากยาวสวยงาม ทำให้มันมีค่าตัวที่แพงทีเดียวเลย


Kin-gin-rin



Kin-Gin-Rin เป็นปลาคาร์ฟที่มีเกล็ดเงินสะท้อนแสง สีเหมือนกับทองเลยทีเดียว


Shusui และ Asagi



Shusui และ Asagi นั้นมีหน้าตาและสีสันที่เหมือนกันทุกประการค่ะ 
ต่างกันที่ว่า Shusui จะมีเกล็ดน้อยกว่า



Hikari Moyo




Hikari Moyo เป็นลายปลาคาร์ฟที่มีสีสันออกแนวเหมือนเกล็ดเงิน ภาพด้านบนเป็นลายย่อยลงไปอีกที่เรียกว่า Doitsu Hariwake ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างสีขาวเงินและเหลืองครับ ซึ่งเป็นสีที่หายากมาก


ขอบคุณแหล่งที่มาจาก

โลมา

Dolphin โลมา


  ในประเทศไทยมีโลมาที่เรารู้จักกัน 2 ชนิด คือ โลมาหัวบาตร และ โลมาปากขวด อาจยังสามารถพบโลมาอยู่ในแม่น้ำได้ด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด

โลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตร (Irrawaddy dolphin)


  โลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตร (Irrawaddy dolphin) เป็นโลมาชนิดไม่มีจงอยปาก (Beak) หัวกลมมน ลักษณะภายนอกสีน้ำเงินเทาด้านหลังและสีเทาจางด้านท้อง พบโดยทั่วไปตามชายฝั่ง โลมาหัวบาตรอิรวดีพบได้ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และขึ้นไป ถึงน้ำจืด บริเวณแม่น้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และในทะเลสาบสงขลา พบซากตัวอย่าง 2 ตัวทางฝั่งอ่าวไทย พบตัวอย่างที่พบทางบริเวณฝั่งทะเลอันดามันที่จังหวัดสตูลและจังหวัดกระบี่ และยังพบอาศัยในบริเวณอ่าวพังงาและอ่าวกระบี่ ส่วนทางฝั่งอ่าวไทยพบในหลายจังหวัด อีกด้วย ขนาดตัวเต็มวัยประมาณ 2-2.75 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 1 เมตร


โลมาปากขวด (Bottlenose dolphin)


  โลมาปากขวด (Bottlenose dolphin) จะมีสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจางหรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง รูปร่างค่อนข้างอ้วน ชอบว่ายน้ำแข่งกับเรือขณะเดินเรืออยู่ในทะเลโลมาปากขวดแบ่งเป็น 2 กลุ่มที่เด่นชัดตามเขตที่อยู่อาศัยและขนาดคือ Temperate form (Tursiops truncatus) และ Tropical form (Tursiops aduncus) ลักษณะเด่นอีกอย่างคือมีจุดสีเทาเข้มประปรายตามลำตัวด้านข้างและด้านท้อง โลมาปากขวดมีพฤติกรรมชอบว่ายตามเรือขนาดใหญ่พบเห็นโดยทั่วไป โตเต็มที่ยาว 2.3-3.1 เมตร และ 1.9-2.3 เมตร  โลมาปากขวดที่พบในน่านน้ำไทยโดยทั่วไปทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทซึ่งมีขนาดเล็ก

โลมาเผือกหรือโลมาหลังโหนก

(Indo-Pacific hump-backed dolphin) 


           โลมาเผือกหรือโลมาหลังโหนก (Indo-Pacific hump-backed dolphin) มีจงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูง รองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาวเผือก หรือมีสีขาวในบางส่วน โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสี จางที่สุด จึงมีชื่อเรียกว่าโลมาเผือก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า โลมาหลังโหนก ซึ่งเรียกตามลักษณะส่วนหลังที่เป็นสันนูน เป็นชนิดชอบอาศัยตามชายฝั่ง พบมากทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน  ขนาดโตเต็มที่ ที่พบเพศผู้ยาว 3.2 เมตร และเพศเมีย 2.5 ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร


 โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise)


   โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise) เป็นโลมาประเภทไม่มีจงอยปากลักษณะคล้ายกับโลมาหัวบาตรอิรวดี แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลมที่ต่างกันชัดเจนคือ ลักษณะฟันโลมาทั่วไปจะเป็นฟันแหลม แต่ถ้าเป็นพวก Porpoise ลักษณะฟันจะมีหัวเป็นตุ่ม (spade shape) ทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเกือบทุกจังหวัดที่ติดทะเล แต่พบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เมื่อโตเต็มวัยยาวประมาณ 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 70-80 ซม.

โลมาแถบ (Striped dolphin) 


   โลมาแถบ (Striped dolphin) คล้ายโลมากระโดดแต่ลำตัวอ้วนป้อมกว่า จงอยปากใหญ่สั้นกว่าเล็กน้อยหลังสีน้ำเงินเข้มจางลงข้างลำตัว แถบสีเข้มจากตาตรงไปถึงโคนครีบข้าง แนวสีน้ำเงินเข้มและจางตัดกันเป็นลายแหลมข้างลำตัวเป็นลายรูปตัววี แถบสีเข้มเป็นแนวจากลูกตาไปตามข้างลำตัว และโค้งลงตรงบริเวณช่องก้นด้านท้องขาว จึงมองจากข้างตัวเห็นมีลายเป็นแนวหลายแนว โคนหางเล็กเป็นสันแบนครีบหลังค่อนข้างโค้งลาดเอียง ครีบข้างค่อนข้างเล็ก ปลายแหลมลักษณะฟันซี่แหลมเล็กจำนวน 40-55 คู่ แหล่งที่พบทางฝั่งอ่าวไทยพบที่ จ.ชลบุรี ส่วนทางฝั่งอันดามันพบที่ จ.กระบี่พังงาภูเก็ต และสตูล เมื่อตัวโตเต็มวัยจะยาวประมาณ 2.7 เมตร ลูกโลมาแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร ใช้เวลาการตั้งท้อง 12 เดือน ลูกโลมาจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 18 เดือน



ขอบคุณแหล่งที่มา

whale

วาฬ Whale 



 เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร  นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน ไม่ใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬไม่ใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง หายใจด้วยปอด สามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น

  บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น

  วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ใช่ปลา เพราะมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อหนังบาลีนฟันกระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง


Minke whale(วาฬมิงค์ หรือ วาฬแกลบมิงค์)


Minke Whale (วาฬมิงค์ หรือ วาฬแกลบมิงค์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Balaenoptera acutorostrata (Lacèpéde, 1804)
แหล่งที่พบ พบทุกจังหวัดชายทะเล ส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก
แหล่งอาหาร แพลงก์ตอน ลูกปลา และหมึก
ลักษณะทั่วไป : วาฬแกลบมิงค์    ปากกว้างไม่มีฟัน ปากจะมีจะงอยปาก มีซี่กรอง 231-360 คู่ ส่วนหลังมีสีเทาดำ
กลางหลังสีอ่อน ส่วนท้องมีสีขาว ใต้คางมีร่อง 30-70 ร่อง หัวแหลม
ครีบหลังเป็นรูปสามเหลี่ยมมีขนาดใหญ่ ขนาดโตสุด ความยาว 9 เมตร น้ำหนัก 14 ตัน
ขนาดแรกเกิด 2.4 เมตร

Gray whale(วาฬสีเทา)




Gray whale(วาฬสีเทา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Balaenopteridae
แหล่งที่พบ : พบในทางตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปรซิฟิก
แหล่งอาหาร : แพลงก์ตอน เคย และปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาแฮร์ริ่งปลากะตักปลาซาร์ดีน เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ ลักษณะของตัวหลังจะค่อมตรงกลางลำตัว ส่วนปากจะไม่มีฟันเป็นซี่ ๆ เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่จะมีมีฟันเหมือนขนแปรงสีฟันหรือซี่หวี่ขนาดใหญ่ ซึ่งห้อยลงมาจากขากรรไกรด้านบน ขนแปลงนี้จะเติบโตด้วยกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "บาลีน" ใช้สำหรับกรองอาหารจากน้ำทะเล ยาว 12.2-15.3เมตร น้ำหนัก 27-36 ตัน

Blue whale(วาฬสีน้ำเงิน)





ชื่อวิทยาศาสตร์Balaenoptera musculus

แหล่งที่พบ พบบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติก

แหล่งอาหาร : กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็ก

ลักษณะทั่วไป:เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาดลำตัวจะยาวประมาณ 27-29 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบคือ 34 เมตร โดยเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 100-200 ตัน เป็นวาฬที่มีลักษณะลำตัวยาวและใหญ่แต่เรียวยาวเท่ากันทุกๆสัดส่วนทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็วมากกว่ามีสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ และมีสิ่งที่กรองกินที่เรียกว่า บาลี



Humpback whale (วาฬหลังค่อมหรือ วาฬฮัมแบ็ก)



Humpback whale (วาฬหลังค่อมหรือ วาฬฮัมแบ็ก)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Megaptera novaeangliae
แหล่งที่พบ:มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือและมหาสมุทรอินเดียแถบคาบสมุทรอาระเบีย
แหล่งอาหาร:กินเคย ปลาตัวเล็กๆและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร
ลักษณะทั่วไป:จัดเป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของวาฬทั้งหมด น้ำหนักตัวอาจถึง 45 ตัน มีความยาว 25 เมตร มีลักษณะเด่นตรงที่ครีบและหาง มีสิ่งที่กรองกินที่เรียกว่า บาลี

Fin whale(วาฬฟิน) 


Fin whale(วาฬฟิน) 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera physalus
แหล่งที่พบ:พบในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก
แหล่งอาหาร:กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็ก
ลักษณะทั่วไป:เป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองมาจากวาฬสีน้ำเงิน  ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน มีขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 27 เมตร น้ำหนักมากกว่า 75 ตัน ขนาดลูกแรกเกิดยาว 6-6.5 เมตร มีลักษณะเด่น คือ สีด้านหลังสีดำ ด้านท้องสีขาวตัดกันชัดเจน มีซี่กรองอาหารจำนวน 240-480 แผง บนขากรรไกรบนแต่ละข้าง ร่องใต้คางมีจำนวน 50-100 ร่อง

Bryde’s whale(วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ)



Bryde’s whale(วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni
แหล่งที่พบ:พบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในอ่าวไทย สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ทะเลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
แหล่งอาหาร:พบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในอ่าวไทย สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ทะเลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ลักษณะทั่วไป:มีจุดเด่นที่ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตาม แนวราบ และมีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ ลักษณะลำตัวมีสีเทาดำ รูปร่างค่อนข้างเพรียว มีลายแต้มสีขาวประปรายตรงใต้คางและใต้คอ บางตัวพบมีแถบสีจางบนแผ่นหลัง บางตัวก็มีจุดสีจางทั้งตัวคล้ายสีเทาลายกระสีขาว 

Right whale(วาฬไรท์)


Right whale(วาฬไรท์)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Eubalaena glacialis
แหล่งที่พบ:บริเวณขั้วโลกเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิกเหนือและทางซีกโลกใต้
แหล่งอาหาร:กินสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ ที่มีเปลือกแข็งอย่างเช่น กุ้งหรือกั้ง
ลักษณะทั่วไป:วาฬไร้ท์จะมีรูปร่างใหญ่โตมากมีความยาวประมาณ16เมตรและมีน้ำหนักประมาณ 80 ตัน แต่มันก็มีความคล่องตัวสูง เนื่องจากมีลำตัวเรียวยาว วาฬมีลำตัวสีดำ แต่บางครั้งก็อาจมีแถบปื้นสีขาวบริเวณใต้ท้อง ปากของมันยาวและโค้งมน มันไม่มีกระโดงครีบหลังเหมือนวาฬบางชนิด

Sei whale(วาฬเซย์)


Sei whale(วาฬเซย์)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์:Balaenoptera borealis
แหล่งที่พบ:แปซิฟิกเหนือ
แหล่งอาหาร:กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร
ลักษณะทั่วไป:มีรูปร่างผอมยาว และมีน้ำหนักน้อยกว่าวาฬชนิดอื่นๆ มีสันหนึ่งสันปริเวณหัวและหนังพับใต้คอ

Sprem whale (วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย)


Sprem whale (วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Physeter macrocephalus
แหล่งที่พบ:เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ตและสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
แหล่งอาหาร:กินอาหารประเภทปลาหมึกทั้งปลาหมึกขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ลักษณะทั่วไป:มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆนอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม


ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก

it's me


ประวัติ


ชื่อ ปุญวลี พรหมเสนา

ชื่อเล่น อีเมลล์

โรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัย

เกิดวันที่ 16/02/2001

เลือดกรุ๊ป B
สิ่งที่ชอบ วาฬ ปลา สุนัข แมว
ศิลปินที่ชอบ Shawn Mendes
                      Camila Cabello
              Seventeen