วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

วาฬเพชฌฆาต

วาฬเพชฌฆาต

ปลาวาฬเพชรฆาต เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลของโลมา ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมักจะถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้ในสวนน้ำ พร้อมกับฝึกฝนเพื่อใช้แสดง เนื่องจากความฉลาดแสนรู้ของมัน แม้ว่าชื่อของมัน จะฟังดูน่ากลัวแต่รับรองได้ว่า ไม่ทำอันตรายมนุษย์แน่นอน




ออร์ก้า (Orca) เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียก ปลาวาฬเพชรฆาต (Killer whale) มันมีลักษณะเด่นที่ลวดลาย ซึ่งลำตัวด้านหลังของมัน จะเป็นสีดำ มีสีขาวที่ใต้ท้องและอก รวมทั้งรอบดวงตา ก็เป็นขีดสีขาวเช่นกัน นอกจากนี้ ทั้งครีบหลังของมัน ที่ตั้งฉากและสูงกว่าปลาวาฬอื่นๆ โดยเฉพาะตัวผู้ที่มีครีบหลังสูงถึง2 เมตร ซึ่งครีบหลังของตัวเมียจะไม่ค่อยตั้งฉาก แต่จะเอนไปทางด้านหลังมากกว่า ปลาวาฬเพชรฆาตตัวผู้ จะมีขนาดประมาณ 9.5 เมตร และประมาณ 6,500 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียจะมีขนาด 7-8 เมตร และหนักประมาณ 4,500 กิโลกรัมส่วนใหญ่แล้ว สามารถพบปลาวาฬชนิดนี้ ได้ในมหาสมุทรทั่วโลก โดยเฉพาะแถบอุณหภูมิต่ำ อย่างขั้วโลกเหนือ รวมทั้งมหาสมุทรอาร์คติก และแอนตาร์กติกจะพบได้มาก เนื่องจากในน้ำแถบนั้น มีธาตุอาหารที่อุดสมบูรณ์ เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงนับว่าเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของนักล่าอย่างปลาวาฬเพชรฆาต ซึ่งต้องการอาหารเป็นสัตว์เลือดอุ่นวันละ 60 กิโลกรัม โดยเหยื่อเหล่านั้นได้แก่ ปลา ปลาหมึก แมวน้ำ นกทะเล สิงโตทะเล เต่าทะเล ปลาโลมา เป็นต้นปลาวาฬเพชรฆาตจะอยู่กันเป็นฝูงประมาณ 5-30 ตัว และหากินแบบแท็กทีม ทำให้มันสามารถล้มปลาวาฬสีน้ำเงิน ที่มีขนาดใหญ่ มหึมาและฉลามขาวได้ ด้วยการกัดที่หางของเหยื่อ เพื่อทำให้เหยื่อ ไม่สามารถว่ายน้ำหนีได้ รวมทั้งยังสามารถ เหวี่ยงเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม ให้ลอยอยู่กลางอากาศได้ โดยเฉพาะการคว่ำแผ่นน้ำแข็ง เพื่อลากแมวน้ำลงมาเป็นอาหาร นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาวาฬเพชรฆาต"โดยภายในกลุ่ม จะประกอบด้วยตัวผู้วัยฉกรรจ์เพียงหนึ่งตัว ตัวเมียวัยเจริญพันธ์มากกว่า 1 ตัว และลูกๆ ของพวกมัน ซึ่งจะว่ายน้ำไปพร้อมๆ กัน โดยมีระยะห่างไม่เกิน 1 กิโลเมตร โดยจะว่ายเหนือผิวน้ำ ด้วยความเร็วประมาณ 10-15 กิโลเมตร / ชั่วโมง แต่ความเป็นจริงแล้ว มันสามารถว่ายได้เร็วกว่า 50 กิโลเมตร / ชั่วโมง และดำน้ำได้ลึกถึง 300 เมตรนอกจากความสามารถในการล่าแล้ว ปลาวาฬเพชรฆาต ยังส่งสัญญาณโซนาร์ใต้น้ำ เพื่อหาตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุตรงหน้า และยังมีความสามารถ ในการสอดแนม โดยใช้การลอยตัวตั้งขึ้นตรง เหนือน้ำ เพื่อหาเหยื่อและสอดส่องอันตรายรอบตัว โดยจะใช้หางช่วยพยุงให้ตัวตั้งขึ้น หรือที่เรียกว่า "Spyhopping”

ช่วงชีวิตของปลาวาฬ จะมีระยะเวลาประมาณ 100 ปี ตัวเมียจะโตเต็มวัย เมื่อมีอายุประมาณ 8-14 ปี แต่ตัวผู้จะใช้เวลาในการโตเต็มวัย นานกว่าตัวเมียประมาณ 2 ปี โดยตัวผู้จะผสมพันธ์กับตัวเมียหลายตัว เมื่อแม่วาฬตั้งท้อง มันจำเป็นต้องอุ้มท้องอยู่นาน 1 ปี หลังจากนั้น จะตกลูกออกมาเพียงหนึ่งตัว ซึ่งมีขนาดประมาณ 2.4 เมตร และหนักประมาณ 180 กิโลกรัม เมื่อเวลาผ่านไป 18 เดือน ลูกจึงจะโตเต็มที่ และแม่จะทิ้งช่วงไปประมาณ3-8 ปี จึงจะพร้อมผสมพันธ์ใหม่อีกครั้ง


ล่าสุดวาฬเพชฌฆาตชื่อ "ทิลิคัม" (Tilikum) ก่อเหตุทำร้ายครูฝึกจนถึงแก่ชีวิตภายในสวนสัตว์น้ำซีเวิลด์ (SeaWorld) ในเมืองออร์แลนโด มลรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา สร้างความตกตะลึงให้กับคนทั่วโลก และทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัย ว่าเหตุใดวาฬที่ได้รับการฝึกและเลี้ยงดูมาอย่างดีจึงมีพฤติกรรมก้าวร้าวและ เป็นอันตรายต่อมนุษย์

       แบรด แฮนสัน (Brad Hanson) นักชีววิทยาประจำศูนย์วิทยาศาสตร์การประมงตะวันตกเฉียงเหนือ ขององค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของวาฬเพชฌฆาตในธรรมชาติ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ไซเอนติฟิคอเมริกันว่า ด้วยขนาดและฟันของวาฬเพชฌฆาต มันถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า และสามารถทำอันตรายต่ออะไรก็ตามได้ในเวลาอันรวดเร็ว

       "เท่าที่เคยรู้มา ไม่เคยมีเหตุการณ์วาฬเพชฌฆาตที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติทำร้ายมนุษย์มาก่อนเลย แต่หนังสือพิมพ์เคยรายงานข่าวกรณีนักเล่นกระดานโต้คลื่นถูกสัตว์ทะเลทำร้าย บริเวณนอกชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1972 ซึ่งบริเวณนั้นก็มีเหตุการณ์มนุษย์ถูกฉลามทำร้ายหลายครั้ง แต่กรณีนี้ไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาถูกอะไรกัดกันแน่ และจากร่องรอยบาดแผลแล้วสันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ฉลาม" แฮนสัน เผย

       เป็นไปได้หรือไม่ที่สภาพแวดล้อมในสวนสัตว์น้ำอาจเป็นมูลเหตุให้วาฬ เพชฌฆาตทำร้ายคนบ่อยครั้ง แฮนสันบอกว่า มันเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราต้องระลึกไว้เสมอว่า "วาฬ เพชฌฆาตเป็นสัตว์สังคม" พวกมันมีความผูกพันทางสังคมที่เหนียวแน่นมาก ไม่เพียงจำเพาะเจาะจงต่อสปีชีส์เดียวกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนที่พวกมันใช้ชีวิตอยู่ด้วยในสถานที่ที่พวกมันได้รับการ เลี้ยงดูมา

       แม้ในสภาพธรรมชาติ วาฬเพชฌฆาตจะแสดงพฤติกรรมออกไปในทางที่ทำให้เราตกใจกลัว ซึ่งพวกมันมักใช้ฟันของมันแสดงปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกของความก้าวร้าว หรือความขี้เล่น มันก็ยากที่จะบอกได้จากสิ่งที่เห็น ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะเราเห็นวาฬเพชฌฆาตในธรรมชาติในช่วงเวลากที่จำกัดมาก เมื่อมันขึ้นแหวกว่ายอยู่บริเวณผิวน้ำ แต่เราแทบไม่รู้เลยว่าเมื่อมันอยู่มันอยู่ลึกลงไปใต้น้ำนั้นมีอะไรเกิดขึ้น บ้าง

       "วาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์ขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก หากมันแสดงพละกำลังต่อสิ่งใดหรือสัตว์ชนิดใดที่มีขนาดใหญ่พอฟัดพอเหวี่ยงกับ มัน เหมือนอย่างที่มันแสดงออกต่อพวกเดียวกัน ก็คงไม่มีผลอะไรมากนัก แต่หากทำอย่างนั้นต่อมนุษย์ ย่อมต้องส่งผลกระทบอย่างมากแน่นอน" แฮนสัน กล่าว.

          โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์





ขอบคุณแหล่งที่มา
















ฉลามวาฬ

ฉลามวาฬ


ปลาฉลามวาฬว่าที่สัตว์ป่าสงวนของไทย

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติให้เสนอชื่อสัตว์น้ำ 4 ชนิด ได้แก่ 1. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale) 2. วาฬโอมูระ (Omura’s whale) 3.ฉลามวาฬ (Whale Shark) 4. เต่ามะเฟือง (Leatherback turtle) เพื่อจัดทำเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศให้สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่าสงวนต่อไป


ปลาฉลามวาฬ (Whale Shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhincodon typus ปลาฉลามวาฬเป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลาทั่วไปคือมีอุณหภูมิร่างกายใกล้เคียงกับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่และเป็นปลากระดูกอ่อนคือกระดูกทั้งตัวยกเว้นขากรรไกรและฟันเป็นกระดูกแข็ง กระดูกอ่อนเป็นกระดูกอ่อนแบบเดียวกับกระดูกใบหูของคน
และฉลามวาฬยังได้จัดอันดับให้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่ใช่ปลาวาฬเพราะปลาวาฬหรือวาฬเป็นสัตว์เลือดอุ่นซึ่งมีอุณหภูมิร่างกายคงที่ไม่ใช่ปลา) ฉลามวาฬโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 12.5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 21.5 ตัน
ฉลามวาฬพบแพร่กระจายในทะเลในเขตร้อนและเขตบอุ่น ประเทศไทยของเราพบฉลามวาฬได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลอันดามันเคยพบฉลามวาว่าเข้ามาในอ่าวป่าตองจังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ.2540-2542 ซึ่งสันนิษฐานว่าว่ายเข้ามาหาอาหารหรือจับคู่ผสมพันธุ์ ส่วนที่อ่าวไทยเคยพบฉลามวาฬที่เกาะมันนอกจังหวัดระยอง ที่เกาะรังจังหวัดชุมพรและที่เกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี
ฉลามวาฬแม้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแต่อาหารที่มันกินนับได้เป็นอาหารเกือบจะมีขนาดเล็กที่สุดคือมันกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ฉลามวาฬจะกินอาหารโดยการว่ายน้ำอ้าปากให้น้ำไหลเข้าปากแล้วใช้ซี่เหงือกกรองแพลงก์ตอนจำพวก โคพีปอด (copepods) คริลล์ (krill) ไข่ปลา ตัวอ่อนสัตว์น้ำ ละลุกหมึกและปลาขนาดเล็ก
ปัจจุบันสถานภาพฉลามวาฬได้รับการประเมินสถานภาพเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Red List of Threatened Species) ของ IUCN ล่าสุดได้ปรับให้ฉลามวาฬซึ่งมีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) และได้ขยับเป็น ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) แล้ว

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฉลามวาฬลดจำนวนลงคือจากการทำการประมง แม้ว่าตัวฉลามวาเองจะไม่ใช่เป้าหมายหลักแต่มันก็ติดเครื่องมือประมงบ่อยและครีบของมันก็มีขนาดใหญ่และราคาดี อีกสาเหตุหนึ่งคือการนิยมดำน้ำดูฉลามวาฬซึ่งทำให้เรือเข้าไปใกล้ฉลามวาฬและถูกเรือชนเป็นประจำ นอกจากนี้แล้วปัญหาเรื่องไมโครพลาสติกที่ติดมากับแพลงก์ตอน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารพิษที่สะสมอยู่ในไมโครพลาสติกจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางชีวภาพ และส่งผลเสียต่อชีววิทยาการสืบพันธุ์​ของฉ




ขอบคุณแหล่งลามวาฬได้ที่มาจาก