Dolphin โลมา
ในประเทศไทยมีโลมาที่เรารู้จักกัน 2 ชนิด คือ โลมาหัวบาตร และ โลมาปากขวด อาจยังสามารถพบโลมาอยู่ในแม่น้ำได้ด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด
โลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตร (Irrawaddy dolphin)
โลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตร (Irrawaddy dolphin) เป็นโลมาชนิดไม่มีจงอยปาก (Beak) หัวกลมมน ลักษณะภายนอกสีน้ำเงินเทาด้านหลังและสีเทาจางด้านท้อง พบโดยทั่วไปตามชายฝั่ง โลมาหัวบาตรอิรวดีพบได้ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และขึ้นไป ถึงน้ำจืด บริเวณแม่น้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และในทะเลสาบสงขลา พบซากตัวอย่าง 2 ตัวทางฝั่งอ่าวไทย พบตัวอย่างที่พบทางบริเวณฝั่งทะเลอันดามันที่จังหวัดสตูลและจังหวัดกระบี่ และยังพบอาศัยในบริเวณอ่าวพังงาและอ่าวกระบี่ ส่วนทางฝั่งอ่าวไทยพบในหลายจังหวัด อีกด้วย ขนาดตัวเต็มวัยประมาณ 2-2.75 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 1 เมตร
โลมาปากขวด (Bottlenose dolphin)
โลมาปากขวด (Bottlenose dolphin) จะมีสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจางหรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง รูปร่างค่อนข้างอ้วน ชอบว่ายน้ำแข่งกับเรือขณะเดินเรืออยู่ในทะเลโลมาปากขวดแบ่งเป็น 2 กลุ่มที่เด่นชัดตามเขตที่อยู่อาศัยและขนาดคือ Temperate form (Tursiops truncatus) และ Tropical form (Tursiops aduncus) ลักษณะเด่นอีกอย่างคือมีจุดสีเทาเข้มประปรายตามลำตัวด้านข้างและด้านท้อง โลมาปากขวดมีพฤติกรรมชอบว่ายตามเรือขนาดใหญ่พบเห็นโดยทั่วไป โตเต็มที่ยาว 2.3-3.1 เมตร และ 1.9-2.3 เมตร โลมาปากขวดที่พบในน่านน้ำไทยโดยทั่วไปทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทซึ่งมีขนาดเล็ก
โลมาเผือกหรือโลมาหลังโหนก
(Indo-Pacific hump-backed dolphin)
โลมาเผือกหรือโลมาหลังโหนก (Indo-Pacific hump-backed dolphin) มีจงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูง รองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาวเผือก หรือมีสีขาวในบางส่วน โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสี จางที่สุด จึงมีชื่อเรียกว่าโลมาเผือก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า โลมาหลังโหนก ซึ่งเรียกตามลักษณะส่วนหลังที่เป็นสันนูน เป็นชนิดชอบอาศัยตามชายฝั่ง พบมากทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ขนาดโตเต็มที่ ที่พบเพศผู้ยาว 3.2 เมตร และเพศเมีย 2.5 ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise)
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise) เป็นโลมาประเภทไม่มีจงอยปากลักษณะคล้ายกับโลมาหัวบาตรอิรวดี แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลมที่ต่างกันชัดเจนคือ ลักษณะฟันโลมาทั่วไปจะเป็นฟันแหลม แต่ถ้าเป็นพวก Porpoise ลักษณะฟันจะมีหัวเป็นตุ่ม (spade shape) ทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเกือบทุกจังหวัดที่ติดทะเล แต่พบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เมื่อโตเต็มวัยยาวประมาณ 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 70-80 ซม.
โลมาแถบ (Striped dolphin)
โลมาแถบ (Striped dolphin) คล้ายโลมากระโดดแต่ลำตัวอ้วนป้อมกว่า จงอยปากใหญ่สั้นกว่าเล็กน้อยหลังสีน้ำเงินเข้มจางลงข้างลำตัว แถบสีเข้มจากตาตรงไปถึงโคนครีบข้าง แนวสีน้ำเงินเข้มและจางตัดกันเป็นลายแหลมข้างลำตัวเป็นลายรูปตัววี แถบสีเข้มเป็นแนวจากลูกตาไปตามข้างลำตัว และโค้งลงตรงบริเวณช่องก้นด้านท้องขาว จึงมองจากข้างตัวเห็นมีลายเป็นแนวหลายแนว โคนหางเล็กเป็นสันแบนครีบหลังค่อนข้างโค้งลาดเอียง ครีบข้างค่อนข้างเล็ก ปลายแหลมลักษณะฟันซี่แหลมเล็กจำนวน 40-55 คู่ แหล่งที่พบทางฝั่งอ่าวไทยพบที่ จ.ชลบุรี ส่วนทางฝั่งอันดามันพบที่ จ.กระบี่, พังงา, ภูเก็ต และสตูล เมื่อตัวโตเต็มวัยจะยาวประมาณ 2.7 เมตร ลูกโลมาแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร ใช้เวลาการตั้งท้อง 12 เดือน ลูกโลมาจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 18 เดือน
ขอบคุณแหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น